bbgun

โปรเจ็ก bbgun

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

นำเสนอโปรเจ็ก













http://www.mediafire.com/?wisr6cc44sa196x

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่10

Google Book Search ขยายให้บริการนิตยสารด้วย
หลังจากที่กูเกิลลงทุนจ่ายเงินเพื่อให้ได้ลิขสิทธิ์จากสำนักพิมพ์ต่างๆ เพื่อมาลงใน Book Search (ข่าวเก่า) วันนี้กูเกิลเปิดเผยว่าได้เอานิตยสารบางส่วนเข้ามาอยู่ใน Book Search แล้วครับ
ผู้ที่สนใจอ่านนิตยสาร สามารถค้นหาตามชื่อนิตยสารหรือข้อความภายในได้เสมือนเป็นหนังสือเล่มหนึ่ง และยังสามารถย้อนดูฉบับเก่าๆ ทีละฉบับได้ด้วย อย่างไรก็ตาม บางนิตยสารอาจจำกัดการดูจำนวนหน้า หรือไม่มีฉบับล่าสุด
นิตยสารที่เริ่มเข้าสู่บริการคือ New York Magazine, Popular Mechanics, Ebony และ Bulletin of Atomic Scientists โดยมีแผนที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สำหรับ Popular Mechanics เท่าที่ดูมีย้อนไปถึงฉบับเดือนมกราคมปี 1905 (เมื่อหนึ่งร้อยปีที่แล้ว) เลยทีเดียว

Related Stories
กลุ่มผู้พิทักษ์สิทธิ์ปล่อยโฆษณาอัดซีอีโอกูเกิลเรื่องความเป็นส่วนตัว
บทสัมภาษณ์ CEO ของ Adobe: อนาคตของ Flash
เว็บไซต์ Chrome Extensions ใช้งานได้แล้ว
Google มีแผนปล่อย Chrome OS ปีหน้า
Google และ Amazon ต่างก็ต้องการเป็นผู้นำด้านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ทางเลือกในการติดตามข่าวสาร Blognone นอกจากหน้าเว็บปกติ คุณสามารถติดตามข่าวได้จาก Twitter และ Facebook รวมถึง Mobile Web
http://www.blognone.com/node/9926

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่9

ข้อผิดพลาดของ Google Book Search ในเชิงเมทาดาตา
ในขณะที่หลายฝ่ายกำลังวิจารณ์ข้อตกลงในเรื่อง Google Book มีงานเขียนใน The Chronicle ที่น่าสนใจชิ้นหนึ่ง เกี่ยวกับความผิดพลาดของการสร้างเมทาดาตา (metadata) อัตโนมัติของ Google Book โดย Geoffrey Nunberg จาก UC Berkeley
ในช่วงต้นของบทความ Nunberg ใช้เวลาอธิบายความเชื่อที่ว่า ไม่ว่าผลของการพิจารณาเรื่องข้อตกลงจะออกมาในรูปแบบไหน Google Book ก็จะกลายเป็นมหาอำนาจทางความรู้ไปอย่างไม่แทบจะต้องสงสัย ถึงกับบอกว่า "เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า Google Book นั้นกำลังมุ่งสู่การเป็นห้องสมุดดิจิตอลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่านั้นก็คือ เกือบจะแน่นอนแล้วว่าจะเป็นแห่งสุดท้ายด้วย"
แต่ด้วยการที่ Google เจริญเติบโตมาด้วย search engine, อัลกอริทึ่มการค้นคืน (retrieval algorithm), ข้อมูลเต็มรูป (full-text), และสารสนเทศในฐานะผลผลิตของการสื่อสาร จึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับเมทาดาตามากนัก การขาดการดูแลเมทาดาตานี่เอง ก็ดูเหมือนจะเป็นมหันตภัยอันร้ายแรงสำหรับวงการวิชาการเลยทีเดียวเพราะฉะนั้นในฐานะผู้ใช้ ก็ต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น ในการนำข้อมูลที่ได้จาก Google ไปใช้ และไม่ใช่เพียง Google Book หรือ Google Scholar เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการค้นข้อมูลทางวิชาการจากเว็บไซต์โดยทั่วไป หรือผลิตภัณฑ์การค้นคืนของ search engine อื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ และ Nunberg ได้เกริ่นไว้ในตอนท้าย ก็คือ Page Rank ที่ดูเหมือนเป็นสูตรสำคัญของ Google และทำให้ Google เป็นใหญ่ในยุทธจักร search engine นั้น ดูเหมือนว่าจะไม่สามารถตอบสนองคุณลักษณะเฉพาะของทรัพยากรประเภทหนังสือได้ เพราะผลการค้นของ Google Book ในปัจจุบัน ดูเหมือนว่ายังไม่เป็นที่พึงพอใจของทั้งผู้ใช้และบรรณารักษ์
Nunberg คาดหมายว่า เมื่อนำเอาข้อมูลจากห้องสมุดเข้าไปในระบบ ก็น่าจะทำให้การค้นคืนมีประสิทธิผลมากกว่านี้ นอกจากนี้ crowd sourcing ก็ดูเหมือนจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ ในความคิดของผู้เขียน หาก Google ร่วมมือกับ Amazon ก็น่าจะทรงพลังอย่างมหาศาล แต่ว่า Amazon นั้น ก็ประกาศตัวไปอยู่ฝั่งตรงข้ามเสียแล้ว แต่กระนั้นก็อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจ เพราะเมื่อสงครามยังไม่จบ (เพิ่งจะเริ่มต้นด้วยซ้ำ) ก็อย่านับศพทหาร นอกจากนี้ Google ยังสามารถหาพันธมิตรได้จากชุมชนอื่น ๆ อีกมาก แต่ปัญหาของ crowd sourcing ก็อยู่ที่ความไม่คงเส้นคงวา ความขัดแย้ง และสับสนในตัวเมทาดาตา
http://www.onopen.com/songphan/09-09-27/5044